เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 8.สหธรรมิกวรรค 7.สัญจิจจสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
จงใจก่อความรำคาญให้แก่ภิกษุทั้งหลายเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้
มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้น
ได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[465] ก็ ภิกษุใดจงใจก่อความรำคาญให้แก่ภิกษุด้วยหวังว่า “เธอจักไม่
มีความผาสุกแม้ชั่วครู่ด้วยอุบายนี้” ประสงค์เพียงเท่านี้ ไม่มีอะไรอื่น ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[466] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า ภิกษุ คือ ภิกษุอื่น
ที่ชื่อว่า จงใจ คือ รู้อยู่ รู้ดีอยู่ จงใจ ฝ่าฝืนล่วงละเมิด
คำว่า ก่อความรำคาญ ความว่า ภิกษุก่อความรำคาญกล่าวว่า “ท่านคง
จะอายุหย่อนกว่า 20 ปี อุปสมบทแล้ว ท่านคงจะฉันอาหารในเวลาวิกาล ท่านคง
จะดื่มนํ้าเมา ท่านคงจะนั่งในที่ลับกับมาตุคาม” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า ประสงค์เพียงเท่านี้ ไม่มีอะไรอื่น คือ ไม่มีเหตุอื่นที่จะก่อความ
รำคาญให้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :566 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 8.สหธรรมิกวรรค 7.สัญจิจจสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[467] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน จงใจก่อความรำคาญ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ จงใจก่อความรำคาญ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน จงใจก่อความรำคาญ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ภิกษุจงใจก่อความรำคาญให้แก่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[468] 1. ภิกษุไม่ประสงค์จะก่อความรำคาญ กล่าวว่า “ท่านคงจะอายุ
หย่อนกว่า 20 ปี อุปสมบทแล้ว ท่านคงจะฉันอาหารเวลาวิกาล
ท่านคงจะดื่มน้ำเมา ท่านคงจะนั่งในที่ลับกับมาตุคาม ท่านจงรู้
เถิด อย่าได้มีความรำคาญภายหลังเลย”
2. ภิกษุวิกลจริต
3. ภิกษุต้นบัญญัติ
สัญจิจจสิกขาบทที่ 7 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :567 }